Posts

[FINALE] "ความเป็นไทยในงานศิลปะ และ สถาปัตยกรรมภายใน"

Image
       ในการเรียนวิชา THAI INTERIOR ARCHITECTURE ที่ผ่านมาตลอดเทอม ทั้งได้ฟังบรรยายจากผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเป็นไทยในขแนงต่าง ๆ และได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ทำให้ได้เรียนรู้ สัมผัสความรู้สึกต่อสถาปัตยกรรมผ่านประสบการณ์จริง ได้สัมผัสคำนิยามของ "ความเป็นไทย" ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย  ดังที่ได้เคยกล่าวไป ความเป็นไทย หรือความเป็นชาติใด ๆ ก็ตามนั้นคือประดิษฐกรรมของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความยึดเหนี่ยว ความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้คนในสังคม ทุกสิ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นตามนั้นก็ได้ แล้วแต่ประสบการณ์ และการตีความของแต่ละบุคคล ความเป็นไทยในมุมมองของฉันจึง ได้ข้อคิดเห็นสรุปดังนี้        ความเป็นไทยไม่ได้มีเพียงแค่เพียงวัดวาอาราม ไม่ใช่ตัวศิลปะประดับทอง แต่ความเป็นไทย ก็คือ "คนไทย" ในทุกแง่มุม ทั้งวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะของกิจกรรม ประเพณี วัฒนธรรม และศิลปะที่สืบทอดต่อกันมา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ความทรงจำของคนไทยทุกคนที่รวมกันเป็นประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ที่ยึดเหนี่ยวผู้คนเข้าถึงกัน ได้สร้างลักษณะภาพรวมของ "คว...

191121 "ออกเดินทาง" วัดสุวรรณารามวรวิหาร และ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

Image
       ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 มีโอกาสได้ไปทัศนศึกษาที่วัดสุวรรณารามวรวิหารและพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน โดยการท่องเที่ยวศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ได้รับประสบการณ์ ความรู้ และความประทับใจต่อสถานที่ที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการทำงานในอนาคตหลายอย่างด้วยกัน วัดสุวรรณารามวรวิหาร        พื้นที่ที่ประทับใจที่สุดภายในบริเวณวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร คือ ภายในของศาลาการเปรียญ รูปด้านภายนอกของศาลาการเปรียญวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร        จากพื้นที่ภายนอกที่ร้อนอบอ้าว เดินทางเข้าสู่ภายในศาลาการเปรียญที่มีความมืดและร่มเย็นกว่า มีความแตกต่างระหว่างแสงของพื้นที่ภายในกับภายนอกอย่างชัดเจน        เมื่อเข้ามาจะสามารถมองเห็นเสาที่เรียงรายไปสู่พระพุทธรูปตรงกลาง โดยเสานี้ช่วยในเรื่องของการแบ่งพื้นที่ ทำให้เกิดพื้นที่ตรงกลางที่มีความโดดเด่นและเป็นสาธารณะกว่า ในขณะที่บริเวณด้านข้างเสาที่ติดกับช่องเปิดจะให้ความรู้สึกที่เป็นส่วนตัวกว่า ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่เล็กว่าและมืดกว่า เมื่อนั่งชิดติดผนัง จึงให้ความรู้สึกเป็...

191115 "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา"

Image
       ในวันนี้ได้มีโอกาสฟังบรรยายจากคุณใหม่ หรือ สิริกิติยา เจนเซน ผู้จัดทำโครงการ "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งการเวลา" ที่จัดแสดงในระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 28 เมษายน 2562 ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ก่อนที่คุณใหม่จะเริ่มบรรยายถึงงานวังหน้านฤมิต คุณใหม่ได้กล่าวถึง หนังสือเรื่อง "A Feeling of History" ของ Peter Zumthor ที่ได้กล่าวถึง "ความทรงจำ" ของสถาปัตยกรรม "สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์"        สถาปัตยกรรรมเป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์และความทรงจำ สถาปัตยกรรมที่ดีมักสร้างความรู้สึกเฉพาะ และทำให้เกิดการจดจำ        ยกตัวอย่างเช่น Allmannajuvet Zinc Mine Museum ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เหมือง zinc ที่สร้างจากบริบทที่เป็นเหมืองจริง Peter Zumthor ได้กล่าวถึง "ความทรงจำ" ของสถานที่ ในการออกแบบเขาได้ออกแบบให้ตัวอาคารมีความเรียบง่ายและกลมกลืนไปกับภูมิประเทศ มีการใช้โทนสีเข้ม อาคารสามารถทำให้ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสได้ถึงสัมผัสได้ถึงความเป็นเหมือง แส...

191109 MOCA BANGKOK "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"

Image
“Ars longa, vita brevis ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”        คติประจำใจของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  ประติมากรชาวอิตาเลียน ผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งได้ยกระดับการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้นำหลักปรัชญาที่ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” มาเผยแพร่ พร้อมกับหลักวิชา Academic Art ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษาเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะทางศิลปะให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศจนได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” MOCA: Museum of Contemporary Art (MOCA BANGKOK)        พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA เกิดจาก “ความหลงใหลในงานศิลปะ” ของ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่แท้จริงนั้น คุณบุญชัยเปิด พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย อย่างเป็นทางการเพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเชิดชูเกียรติของ “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี        งานศิลปะที่จัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์ศิ...

191101 "วัดราชาธิวาส" เทคนิคจิตรกรรมแบบตะวันตกกับงานจิตรกรรมไทย

Image
              จิตรกรรมไทย เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม มีความอ่อนโยน ละมุนละไมมีลักษณะและรูปแบบพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ โดยมักเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เมื่อจิตรกรรมไทยถูกสร้างสรรค์ผ่านเทคนิคของตะวันตก               วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร มีชื่อเดิมว่า วัดสมอราย ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่จำพรรษาของรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ               ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถแม้จะเล่าเรื่องพระเวสสันดรชา...

"พระเกี้ยว" สัญลักษณ์อันทรงเกียรติ สู่ สถาปัตยกรรม

Image
              จากการได้ไปดูงานที่ตึกจักรพงษ์ หรือ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย หลวงวิศาลศิลปกรรมและหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ และที่สำคัญคือ เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยจัดสร้างขึ้น เป็นที่ประดิษฐานของ "พระเกี้ยวจำลอง"  "พระเกี้ยว"               เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า 'เกี้ยว' ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน               พระเกี้ยว จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้   ...

191018 แสงแบบไทย แสงแบบไหน?

Image
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นตลอดปี แสงแดดเจิดจ้าตกกระทบกับชายคากว้างของอาคารเกิดเป็นร่มเงาอาจเป็นสภาพของแสงแวดล้อมที่เราคุ้นชิน คุณเคยสงสัยไหมว่าในแต่ละท้องถิ่นมีแสงเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ หรือไม่? เราสามารถกล่าวได้อย่างแน่นอนหรือไม่ว่าแสงเช่นนี้คือแสงแบบไทย? แสงลักษณะเดียวกัน หากอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง จะกลายเป็นแสงของประเทศนั้นไปหรือไม่? เมื่อลองสังเกตและวิเคราะห์ดู จะพบว่าแสงแบบไทยนั้นมีอยู่ในสถาปัตยกรรมไทย เมื่อมีแสง ย่อมต้องมีเงา แสงและเงาในสถาปัตยกรรมไทยเกิดจากเส้นรอบรูปของตัวสถาปัตยกรรม ซึ่งมี "บัว" แบบไทยเป็นเอกลักษณ์               “บัว” เป็นรูปแบบศิลปะไทย ที่ช่างศิลป์เกือบทุกแขนงนำมาเป็นใช้ในงานประดับตกแต่งอาคารโดยรูปแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากบัวหลวงในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานตกแต่งสถาปัตยกรรมไทย พบว่ามีการเรียกชื่อ “บัว” นำหน้าหรือต่อท้าย อาจเป็นเพราะชิ้นส่วนเหล่านั้นมีเส้นขอบนอกของชิ้นส่วนเป็นรูปวงโค้งเหมือนกลีบบัว ซึ่งบางครั้งมีการตกแต่งให้มองเห็นเป็นรูปลวดลายกลีบบัวโดยตรง โดยบั...