191115 "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา"
ในวันนี้ได้มีโอกาสฟังบรรยายจากคุณใหม่ หรือ สิริกิติยา เจนเซน ผู้จัดทำโครงการ "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งการเวลา" ที่จัดแสดงในระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 28 เมษายน 2562 ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ก่อนที่คุณใหม่จะเริ่มบรรยายถึงงานวังหน้านฤมิต คุณใหม่ได้กล่าวถึง หนังสือเรื่อง "A Feeling of History" ของ Peter Zumthor ที่ได้กล่าวถึง "ความทรงจำ" ของสถาปัตยกรรม
"สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์"
สถาปัตยกรรรมเป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์และความทรงจำ สถาปัตยกรรมที่ดีมักสร้างความรู้สึกเฉพาะ และทำให้เกิดการจดจำ
ยกตัวอย่างเช่น Allmannajuvet Zinc Mine Museum ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เหมือง zinc ที่สร้างจากบริบทที่เป็นเหมืองจริง Peter Zumthor ได้กล่าวถึง "ความทรงจำ" ของสถานที่ ในการออกแบบเขาได้ออกแบบให้ตัวอาคารมีความเรียบง่ายและกลมกลืนไปกับภูมิประเทศ มีการใช้โทนสีเข้ม อาคารสามารถทำให้ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสได้ถึงสัมผัสได้ถึงความเป็นเหมือง แสดงถึงอดีต ความเป็นมา และความทรงจำของสถานที่นั้น ผ่านความรู้สึกของการเข้าใช้สถาปัตยกรรม
ในงานวังหน้านฤมิต คุณใหม่ได้กล่าวถึงห้องท้องพระโรงในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ในการออกแบบมีศิลปินช่วยสร้างสรรค์งานมากมาย ในแบบแรกมีการพยายามเลียนแบบจากภาพท้องพระโรงในอดีตโดยตรงซึ่งมีองค์ประกอบมากมาย แต่การใส่องค์ประกอบประดับตกแต่งหรืองานของศิลปินอื่นที่มากจนเกินไปจะทำให้ความรู้สึกของความเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นจริงน้อยลง ในการออกแบบท้องพระโรงจึงลดทอนลักษณะของท้องพระโรงในอดีต เหลือเป็นห้องใหญ่ที่มีเสาล้อม และมีบุษบกตระหง่านเป็นจุดเด่นตรงกลางห้องทางด้านหลัง จะเห็นได้ว่าจุดสนใจทั้งหมดถูกดึงดูดไปที่บุษบกตรงกลางห้อง ให้ความรู้สึกว่าจุดนั้นเป็นจุดสำคัญ เช่นเดียวกับความรู้สึกเวลามองเห็นพระที่นั่งในอดีต สิ่งนี้เองที่เป็นการทำให้เกิด "ความทรงจำ" ของสถาปัตยกรรมขึ้นมา ในมิติของกาลเวลา
หนึ่งในสาเหตุที่ที่คนเราสามารถเข้าใจประวัติศาสตร์และมีความรู้สึกยึดเหนี่ยวกับประวัติศาสตร์ ก็เพราะประวัติศาสตร์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของตนเองด้วยเช่นกัน การสร้างความรู้สึกของสถาปัตยกรรมให้มนุษย์สามารถที่จะยึดเหนี่ยวได้นั้น จึงสำคัญกว่าการลอกเลียนแบบมาโดยตรงโดยขาดความเข้าใจของจุดประสงค์ในการสร้างสิ่งนั้นนั่นเอง
Comments
Post a Comment