190913 โรงราชรถ





              วันนี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หรือ วังหน้า และได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ มากมาย โดยมีนิทรรศการหนึ่งที่สะดุดตา คือ "โรงราชรถ"






              ภายในอาคารปรับอากาศที่มีเพดานสูงมากกว่าสิบเมตรถูกเติมเต็มไปด้วยวัตถุวิจิตรตระการตาและมีขนาดสูงใหญ่เทียบเท่า วัตถุเหล่านี้คือ "ราชรถ" และ "ราชยาน" หรือก็คือพาหนะของพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้มาวางจัดแสดงไว้นั่นเอง


"พาหนะของพระราชา"


Related image
Image result for limousine aesthetic



              หากจะเปรียบราชรถกับพาหนะในยุคสมัยปัจจุบันก็คงเปรียบเหมือน "ลีมูซีน" ซึ่งใช้ในการเดินทาง หรือใช้ในงานพิธีต่าง ๆ



ราชรถ



ราชรถ

              ปรากฏการใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นรถลากที่มีรูปลักษณะคล้ายเกวียน หรือพัฒนารูปแบบจากเกวียน มีการตกแต่งให้วิจิตรงดงาม และอาจมีขนาดสูงใหญ่มากขึ้น มีทั้งที่มีเครื่องหลังคาและไม่มีเครื่องหลังคา ใช้ในการไปมาเป็นปกติและใช้ในราชพิธีการต่าง ๆ เช่น เมื่อพ.ศ.2229 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใช้อัญเชิญพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หรือในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรด์ ได้ใช้ในพระราชพิธีอินทราพิเษก เป็นต้น

              ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นมา 7 รถ ประกอบด้วย พิชัยราชรถ รถที่นั่งรอง รถพระ รถชัก(โยง) รถโปรยข้าวตอก และรถท่อนจันทน์

              ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่โรงราชรถ 5 รถ คือ พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ และราชรถน้อย 3 (รถพระ รถโยง รถโปรย)



ราชรถ
พระมหาพิชัยราชรถ
Related image
รถโปรยข้าวตอก

ราชยาน

              แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบนั่งห้อยขา เป็นยานสำหรับบุคคลชั้นสูง เป็นยานขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก การหามจะต้องนำลำคานขึ้นพาดบ่าและคนหามต้องมีความสูงไล่เลี่ยกัน เช่น พระยานมาศสามลำคาน พระที่นั่งราเชนทรยาน และคานหามเก้าอี้ เป็นต้น อีกประเภทจะเป็น แบบนั่งราบ เป็นยานที่มีน้ำหนักไม่มาก การหามจะใช้เชือกผูกลำคานสองข้างเป็นสาแหรกขึ้นไปผูกกับคานน้อยอีกอันหนึ่ง คนหามจะหามปลายคานน้อยทั้งสองข้าง สำหรับราชยานที่ยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบันและใช้ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ นั้น ส่วนหนึ่งเก็บรักษาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และบางส่วนเก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้แก่ ยานมาศสามลำคาน เกรินบันไดนาค วอสีวิภากาญจน์ พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นต้น



พระยานมาศสามลำคาน


วิธีในการขับเคลื่อน มี 2 วิธี หากเป็นราชรถขนาดใหญ่ มีลวดลายวิจิตร มีซุ้มเครื่องยอดสูงใหญ่ มีน้ำหนักมากมักใช้คนลากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เรียก พลชัก ฉุด เนื่องจากต้องการให้เคลื่อนที่ไปอย่างนิ่มนวล และสามารถเคลื่อนที่หรือหยุดได้อย่างนิ่มนวลด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดของลวดลายและมีความสง่างามในลีลาที่เคลื่อนไป   

อีกวิธีหนึ่งใช้สัตว์ เช่น ม้า เป็นต้น เป็นกำลังชักลากและมีด้านหน้าด้านเดียวเนื่องจากส่วนมากเป็นราชรถขนาดเล็กถึงมีเครื่องหลังคาหรือซุ้มก็ไม่สูงใหญ่ มีน้ำหนักไม่มาก เมื่อเวลาจะหยุดรถไม่ต้องฉุดด้านหลังจึงมักใช้ม้าลาก แต่ถ้าเป็นราชรถวรรณคดีก็อาจใช้ราชสีห์ คชสีห์ฉุดลากเพื่อแสดงให้เห็นฤทธานุภาพของผู้บังคับรถหรือผู้ทรงรถ ว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มากอาจสามารถบังคับสัตว์อันมีฤทธิ์มากมาใช้งานได้ตามประสงค์ และฐานานุศักดิ์ของราชรถนั้นมีลักษณะคล้ายกับฉัตร คือมีมากมายหลายประเภทแต่ละประเภทก็มีฐานะหรือลำดับชั้นต่างๆกัน จากขนาดของรถบ้าง รูปริ้วขบวนบ้าง ตลอดจนรูปลักษณ์รายละเอียดขององค์ราชรถ



ในปัจจุบันไม่ปรากฏหรือระบุฐานะชั้นยศของราชรถไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือกฎเกณฑ์ใดๆ อย่างตายตัว คงใช้ตามประเพณีที่เคยเห็น เคยใช้ต่อ ๆ กันมาเป็นสำคัญ ต่อไปจะพิจารณาตามลักษณะของราชรถที่ใช้ในราชการจริง เช่น ใช้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระราชทานเพลิงพระศพในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เท่าที่ปรากฏหลับฐานทางวัตถุ



ในปัจจุบันมีราชรถที่แสดงพระเกียรติยศอย่างสูงสุดเป็นราชรถบุษบกใช้ชักลากมีทั้งหมด 5 องค์ คือ
         1. พระมหาพิชัยราชรถ
         2. เวชยันตราชรถ
         3. ราชรถเล็ก
         4. ราชรถน้อย มี 2 องค์ (ราชรถเล็กเท่ากัน)



Image result for ราชยาน



ราชรถ ถือเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของศิลปะไทยเลยทีเดียว

Comments

Popular posts from this blog

191101 "วัดราชาธิวาส" เทคนิคจิตรกรรมแบบตะวันตกกับงานจิตรกรรมไทย

191018 แสงแบบไทย แสงแบบไหน?

"พระเกี้ยว" สัญลักษณ์อันทรงเกียรติ สู่ สถาปัตยกรรม