Posts

Showing posts from November, 2019

191109 MOCA BANGKOK "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"

Image
“Ars longa, vita brevis ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”        คติประจำใจของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  ประติมากรชาวอิตาเลียน ผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งได้ยกระดับการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้นำหลักปรัชญาที่ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” มาเผยแพร่ พร้อมกับหลักวิชา Academic Art ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษาเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะทางศิลปะให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศจนได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” MOCA: Museum of Contemporary Art (MOCA BANGKOK)        พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA เกิดจาก “ความหลงใหลในงานศิลปะ” ของ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่แท้จริงนั้น คุณบุญชัยเปิด พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย อย่างเป็นทางการเพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเชิดชูเกียรติของ “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี        งานศิลปะที่จัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์ศิ...

191101 "วัดราชาธิวาส" เทคนิคจิตรกรรมแบบตะวันตกกับงานจิตรกรรมไทย

Image
              จิตรกรรมไทย เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม มีความอ่อนโยน ละมุนละไมมีลักษณะและรูปแบบพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ โดยมักเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เมื่อจิตรกรรมไทยถูกสร้างสรรค์ผ่านเทคนิคของตะวันตก               วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร มีชื่อเดิมว่า วัดสมอราย ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่จำพรรษาของรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ               ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถแม้จะเล่าเรื่องพระเวสสันดรชา...

"พระเกี้ยว" สัญลักษณ์อันทรงเกียรติ สู่ สถาปัตยกรรม

Image
              จากการได้ไปดูงานที่ตึกจักรพงษ์ หรือ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย หลวงวิศาลศิลปกรรมและหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ และที่สำคัญคือ เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยจัดสร้างขึ้น เป็นที่ประดิษฐานของ "พระเกี้ยวจำลอง"  "พระเกี้ยว"               เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า 'เกี้ยว' ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน               พระเกี้ยว จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้   ...